บริการรับทำหนังสือเดินทางแรงงานสัญชาติเมียนมา

บริการรับทำหนังสือเดินทางแรงงานสัญชาติเมียนมา


บริการรับทำหนังสือเดินทางแรงงานสัญชาติเมียนมา

บริการทำหนังสือเดินทางสัญชาติเมียนมา เล่มใหม่

CI เล่มเขียว เปลี่ยนเป็น เล่มสีแดง (สากล) สามารถใช้เดินทางประเทศที่ 3 ได้
และใช้สำหรับต่ออายุของกลุ่มบัตรชมพู

เอกสารที่ต้องใช้
  1. สำเนาพาสปอร์ต วีซ่า
  2. สำเนาใบอนุญาตทำงาน (บัตรสีชมพู)
  3. รูปถ่าย 1 นิ้วครึ่ง 6 รูป
  4. บัตรประชาชนทะเบียนบ้าน เมียนมา
 
หนังสือเดินทางแรงงานต่างด้าวหมดอายุต้องทำอย่างไร ?

หนังสือเดินทางแรงงานต่างด้าวหมดอายุต้องทำอย่างไร ?

 

 

 

Passport แรงงานต่างด้าวหมดอายุต้องทำอย่างไร ?

1.ทำหนังสือเดินทางใหม่ 

2.ย้ายตราวีซ่า 

วิธีการย้ายตราวีซ่าแรงงานต่างด้าว
เมื่อแรงงานต่างด้าวมีสาเหตุ(เล่มหาย, ชำรุด, เปียกน้ำ หรือ เล่มเก่าหมดอายุ)
โดยต้องทำหนังสือเดินทางเล่มใหม่ เมื่อได้หนังสือเดินทางเล่มใหม่มาแล้วต้องทำการย้ายตราวีซ่าจากเล่มเก่ามาที่เล่มใหม่ 

3.แจ้งเปลี่ยนข้อมูลหนังสือเดินทางในใบอนุญาตทำงาน
สำหรับแรงงานต่างด้าวที่หนังสือเดินทางหมดอายุ และ ได้ไปทำหนังสือเดินทางใหม่มาแล้ว ต้องปฎิบัติ ดังนี้

1.ทำเรื่อง ย้ายตราวีซ่า จากหนังสือเดินทางเล่มเก่ามาเล่มใหม่
2.ขยายสิทธิ์วีซ่า (ถ้าวีซ่าเดิมได้ไม่ครบสิทธิ์)
3.แจ้งเปลี่ยนข้อมูลหนังสือเดินทางในใบอนุญาตทำงาน

หลังจากนั้น ท่านจะสามารถใช้เอกสารหนังสือเดินทางใหม่พร้อมใบอนุญาตทำงานฉบับแก้ไขได้อย่างถูกต้อง

 

 

 

เปลี่ยนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ให้เป็นแรงงานถูกกฎหมาย

เปลี่ยนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ให้เป็นแรงงานถูกกฎหมาย

เปลี่ยนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ให้เป็นแรงงานถูกกฎหมาย

GMG GROUP หนึ่งในผู้นำด้านการจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายแบบครบวงจร ดำเนินการเอกสาร ครบถ้วน ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี พร้อมให้บริการกับนายจ้างและลูกจ้างอย่างเต็มที่

 

 

รวดเร็ว ทันสมัย อย่างมืออาชีพ

ครม. ขยายเวลาอยู่ต่อและทำงาน ของแรงงานต่างด้าว

ครม. ขยายเวลาอยู่ต่อและทำงาน ของแรงงานต่างด้าว

ครม. ขยายเวลาอยู่ต่อและทำงาน ของแรงงานต่างด้าว

ครม.เห็นชอบขยายเวลาแรงงานข้ามชาติที่ยื่นบัญชีรายชื่อแล้วอยู่ต่อและทำงานได้ถึง 13 ก.พ. 68
และขยายเวลาให้แรงงาน MOU ครบ 4 ปี ทำงานได้ถึง 30 เม.ย. 67 พร้อมลดค่าวีซ่าเหลือ 500 บาท

วันที่ 3 ตุลาคม 2566 ครม.เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ ใน 3 ประเด็น
1.ให้แรงงานข้ามชาติตามมติครม.เมื่อวันที่ 5 ก.ค.66 ที่นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อแล้ว ดำเนินการตามแนวทางที่มติครม.กำหนด
เพื่ออยู่ต่อและทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
2.ขยายเวลาให้แรงงาน MOU ที่วาระจ้างงานครบ 4 ปี ทำงานได้ถึง 30 เม.ย. 67
3.ลดค่าวีซ่า จาก 2,000 บาท เหลือ 500 บาท

นายจ้างสามารถจ้างแรงงานคนเดิมที่มีประสบการณ์ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งคำนึงถึงผู้ติดตามซึ่งเป็นบุตรของแรงงานข้ามชาติให้อยู่ในประเทศไทยได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์อย่างเหมาะสม โดยสาระสำคัญที่ครม.เห็นชอบ มี 3 ประเด็น ดังนี้
1. ผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติ ตามมติครม.เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ที่นายจ้างยื่นบัญชีรายชื่อแจ้งความต้องการฯ ต่อกรมการจัดหางานแล้ว ภายใน 31 ก.ค. 66 ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 1,000,000 คน โดยต้องดำเนินการตามแนวทางที่มติครม.กำหนด เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานได้ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568
2.ผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติ (กัมพูชา ลาว และเมียนมา) ที่เข้ามาทำงาน ตาม MOU ซึ่งวาระการจ้างงานครบ 4 ปี (ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2563 – 31 ธันวาคม 2566) อยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษและทำงานเป็นการชั่วคราว ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 โดยระหว่างผ่อนผันให้นายจ้างขออนุญาตนำแรงงานข้ามชาติที่ได้รับการผ่อนผัน เข้ามาทำงานตาม MOU และให้แรงงานเดินทางกลับประเทศต้นทางและเดินทางกลับเข้ามาในประเทศไทยในโอกาสแรกโดยไม่ต้องมีระยะเวลาพัก 30 วัน
3. ลดค่าธรรมเนียมการตรวจลงตรา ครั้งละ 2,000 บาท เหลือ 500 บาท และค่าธรรมเนียมคำขออนุญาต
เพื่ออยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวต่อไป จากครั้งละ 1,900 บาท เหลือครั้งละ 500 บาท ทั้งสำหรับแรงงานข้ามชาติที่เข้ามาทำงานตาม MOU และแรงงานข้ามชาติที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษ

 

ข้อมูลจาก : กรมการจัดหางาน

ความแตกต่างระหว่าง Passport สัญชาติพม่า

ความแตกต่างระหว่าง Passport สัญชาติพม่า

ความแตกต่างระหว่าง Passport สัญชาติพม่า

 

Certificate of Identity (CI)
ลักษณะเป็นเล่มสีเขียวอ่อน เป็นพาสปอร์ตชั่วคราว มีอายุ 4 ปี ไม่สามารถทำ MOUได้

Inter passport
ลักษณะเป็นเล่มสีแดง มีอายุ 5 ปี สามารถทำ MOU ได้

Job Passport (PJ)
สมุดแบบทำงาน แบบที่สามารถทำ MOUได้ จะต้องเป็นแบบ PJ MYANMAR

Visit Passport (PV)
สมุดแบบท่องเที่ยว ไม่รองรับการทำ MOU

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า