เปลี่ยนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ให้เป็นแรงงานถูกกฎหมาย

เปลี่ยนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ให้เป็นแรงงานถูกกฎหมาย

เปลี่ยนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย ให้เป็นแรงงานถูกกฎหมาย

GMG GROUP หนึ่งในผู้นำด้านการจ้างแรงงานต่างด้าวถูกกฎหมายแบบครบวงจร ดำเนินการเอกสาร ครบถ้วน ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี พร้อมให้บริการกับนายจ้างและลูกจ้างอย่างเต็มที่

 

 

รวดเร็ว ทันสมัย อย่างมืออาชีพ

ไทย-เมียนมา ไฟเขียว แรงงานเอ็มโอยูครบ 4 ปี กลับเข้าทำงาน 11 ก.ย. นี้

ไทย-เมียนมา ไฟเขียว แรงงานเอ็มโอยูครบ 4 ปี กลับเข้าทำงาน 11 ก.ย. นี้

ไทย-เมียนมา ไฟเขียว แรงงานเอ็มโอยูครบ 4 ปี กลับเข้าทำงาน 11 ก.ย.นี้

ไทยหารือเมียนมา อำนวยความสะดวกแรงงาน MOU ครบ 4 ปี
พร้อมดำเนินการ ตั้งแต่ 11 ก.ย. 66 ที่เมียวดีและเกาะสอง

กรมการจัดหางาน หารือทางการเมียนมา เพื่ออำนวยความสะดวกแรงงานอยู่ครบ 4 ปี กลับเข้าสู่ระบบการจ้างงานโดยเร็ว
และเตรียมความพร้อมในการออกเอกสาร CI

นายไพโรจน์ โชติกเสถียร อธิบดีกรมการจัดหางาน เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2566 กรมการจัดหางาน ประชุมหารือร่วมกับท่านมอง มอง ตาน อธิบดีกรมแรงงาน สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา และคณะ  ผ่านระบบ Video Conference เกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการแรงงานเมียนมาตาม MOU ที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปี ในประเด็น ดังนี้
1. การอำนวยความสะดวกแรงงานอยู่ครบ 4 ปี ให้กลับเข้าสู่ระบบการจ้างงานโดยเร็ว โดยแรงงานที่วาระการจ้างงานครบ 4 ปีในปีนี้ ที่ประสงค์จะทำงานต่อไป สามารถกลับเข้ามาทำงานครั้งใหม่ โดยที่ระยะเวลาในการเดินทางกลับเมียนมาไม่ต้องถึง 30 วัน และสามารถดำเนินการลงนามสัญญาจ้างได้ในบริเวณแนวชายแดนฝั่งเมียนมา ณ เมืองเมียวดี และ เกาะสอง
2. ฝ่ายเมียนมาแจ้งให้ทราบว่าสามารถเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2566 โดยพิจารณาอนุมัติบัญชีรายชื่อมาแล้ว จำนวน 171 คน 
3. การเตรียมความพร้อมในการออกเอกสาร CI ฝ่ายเมียนมามีความพร้อมที่จะดำเนินการออกเอกสาร CI ให้กับแรงงานเมียนมาจำนวนมากที่ได้ขึ้นทะเบียนตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2566 ภายหลังจากที่ฝ่ายไทย ได้เสนอแนวทางการดำเนินการให้กับคณะรัฐมนตรีพิจารณา
“รัฐบาลไทยได้เปิดโอกาสให้แรงงานตาม MOU ที่ครบ 4 ปี ได้ทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยต่อไป โดยมีแนวทางดำเนินการด้านนโยบายในการบริหารจัดการแรงงานให้เข้าสู่ระบบการจ้างงานตามกฎหมายอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แรงงานได้รับสิทธิและการคุ้มครองตามกฎหมายไทย” นายไพโรจน์ กล่าว

ที่มา  thaigov.go.th

7 ความคุ้มครอง ตามสิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว

7 ความคุ้มครอง ตามสิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว

7 ความคุ้มครอง ตามสิทธิประกันสังคมของแรงงานต่างด้าว

 

 

 

เงื่อนไขการคุ้มครองชาวต่างด้าว

แรงงานต่างด้าวที่ต้องการจะขึ้นทะเบียนในระบบประกันสังคมจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติ ดังนี้

  • จะต้องเป็นแรงงานที่มีหนังสือเดินทาง หรือเอกสารแสดงตัวแทนหนังสือเดินทาง (Passport) และใบอนุญาตการทำงาน (Work permit)
  • จะต้องผ่านการพิสูจน์สัญชาติ โดยมีหนังสือเดินทางชั่วคราว (Temporary Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล (Certificate of identity)
    และใบอนุญาตการทำงาน (Work permit) 
  • หากเป็นแรงงานต่างด้าวที่หลบหนีเข้าเมืองไทยแต่ได้รับการผ่อนผันให้สามารถทำงานชั่วคราวได้ เมื่อเจ็บป่วย หรือได้รับบาดเจ็บจากการทำงานต้องรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ประกันสังคมเพื่อดำเนินการให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทน ซึ่งจะได้รับจำนวนเงินเท่ากับแรงงานไทย

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่ชาวต่างด้าวไม่ต้องขึ้นทะเบียนกับประกันสังคม คือ ชาวต่างด้าวที่เป็นลูกจ้างของกิจการเพาะปลูก ประมง ป่าไม้ เลี้ยงสัตว์ หาบเร่ และการค้าแผงลอย ซึ่งมิได้ใช้ลูกจ้างตลอดปี หรือมีลักษณะการทำงานเป็นแบบครั้งคราว  

 

สิทธิประโยชน์คุ้มครอง 7 กรณี ดังนี้

  • กรณีคลอดบุตร
  • กรณีการสงเคราะห์บุตร
  • กรณีเจ็บป่วย หรือได้รับอันตรายจากการทำงาน
  • กรณีทุพพลภาพ
  • กรณีชราภาพ
  • กรณีว่างงาน
  • กรณีเสียชีวิต
การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนของแรงงานต่างด้าว

การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนของแรงงานต่างด้าว

 

การขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนของแรงงานต่างด้าว

            แรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว จะต้องมีการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนและนำส่งเงินสมทบตามกฎหมาย
นายจ้าง/สถานประกอบการ จะต้องแจ้งขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวดังกล่าว โดยมีเอกสารประกอบคือใบอนุญาตงาน (Work Permit)
และหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ ใบสำคัญประจำตัวต่างด้าว ทางสำนักงานประกันสังคมจึงขอให้นายจ้าง/สถานประกอบการทราบว่า
แรงงานต่างด้าวที่ผ่านการพิสูจน์สัญชาติแล้ว รีบแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนและนำส่งเงินสมทบให้ครบถ้วน ภายในระยะเวลา 30 วัน
นับจากวันที่ได้หลักฐานครบถ้วนจากกรมจัดหางาน

ข้อดีของการนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบ MOU

ข้อดีของการนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบ MOU

 

ข้อดีของการนำเข้าแรงงานต่างด้าวแบบ MOU

 

แรงงานต่างด้าวนำเข้าโดยระบบ MOU คือ แรงงานต่างด้าวที่ถูกนำเข้ามาทำงานในประเทศไทยอย่างถูกต้องตามกฏหมาย
ภายใต้ข้อตกลง MOU ระหว่างรัฐบาลประเทศไทย ลาว กัมพูชา เมียนมาร์ และเวียดนาม
แรงงานต่างด้าวที่เข้าระบบ MOU จะได้รับสวัสดิการต่าง ๆ ตามที่ทางกฎหมายกำหนด และมีเอกสารประจำตัวครบถ้วน

การนำเข้าแรงงานภายใต้ข้อตกลง MOU จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการได้
อีกทั้งยังช่วยลดปัญหาแรงงานต่างด้าวแบบเดิม ๆ ได้อีกด้วย โดยนำเข้าแรงงาน MOU มีข้อดีดังนี้

  1. แรงงานที่เข้ามาในประเทศอย่างถูกกฎหมาย

  2. สามารถนำเข้ามาได้จำนวนมาก

  3. สามารถกำหนดทักษะ และความสามารถ แรงงานที่ต้องการได้

  4. เสียค่าใช้จ่ายน้อย

  5. ไม่มีความเสี่ยง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า